Wednesday, July 1, 2009

โหลดบิท ผิด พรบ.หรือไม่


การดาวน์โหลดจากเครือข่าย Peer-to-peer หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่าโหลดบิท นั้นเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับข้อกฏหมาย การโหลด bit ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฏหมาย แต่ต้องตรวจสอบในรายละเอียดย่อยต่อไป เช่น การโหลดบิทนั้นๆ เป็นการดาวน์โหลดไฟล์ หรือข้อมูลใดๆ ที่ผิดกฏหมายหรือไม่ เช่นกฏหมายลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจาร หากคุณไม่ได้ปล่อย หรือโหลด ไฟล์ที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือไม่ใช่ไฟล์ที่ผิดกฏหมาย ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด

ขออ้างถึงบทความจาก วารสารข่าวรายเดือนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนหนึ่งว่า

[ ถ้าการใช้โปรแกรมจำพวก Peer-to-peer เช่น Bittorrent แล้วมีการรับส่งโปรแกรมสำหรับการแฮ็กระบบ สำหรับการดักจับข้อมูล รวมไปถึงพวกภาพลามก ตรงนี้เราจะเข้าข่ายผู้กระทำผิดได้ทันทีครับ ถึงแม้ว่าเราไม่ได้เอาไปโพสต์บนเว็บบอร์ดหรือส่งอีเมล์ แต่พวก Bittorrent ก็สามารถถูกจัดให้เป็นการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะที่เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้”
ในฐานะอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้หนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ อาจารย์เห็นว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
“ในมุมนึง ตัวพ.ร.บ.ก็พยายามที่จะป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไปมาก และเอื้อให้คนมีอิสระมาก เพราะเป็นการยากในการที่จะรู้ตัวตนจริงของผู้ใช้ จะเห็นได้จากบนเว็บบอร์ด ต่าง ๆ บางครั้งจะมีการโพสต์ข้อความที่หนักและรุนแรงอยู่พอสมควร หรือการเผยแพร่ภาพคลิปแอบถ่าย ซึ่งการที่ไม่รู้ตัวตนจริงของผู้ใช้ทำให้ผู้ใช้บางคนมีความกล้าที่จะกระทำการที่ไม่เหมาะสม โดยไม่มีความรู้สึกเกรงกลัว นอกจากนี้การที่มีการให้บริการ Wi-Fi อย่างเปิดเผย โดยไม่มีการป้องกัน ก็จะทำให้บุคคลที่มีความไม่ประสงค์ดีมีช่องทางในการกระทำความผิดได้ง่ายมาก ๆ แต่ทุกอย่างก็คงจะมีข้อเสีย ทั้งนี้เพราะในส่วนขยายของพ.ร.บ.คือประกาศกระทรวง ได้มีการประกาศรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีลักษณะที่ยากแก่การทำจริง หรือถ้าจะทำให้ถูกต้อง ก็จะต้องมีการลงทุนมหาศาล ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่า บางส่วนของประกาศก็มีความคลุมเครือ ยากแก่การตีความ เพราะจะตีความได้ถูกต้อง ผู้ตีความต้องรู้ทั้งกฎหมาย และไอที ซึ่งหาได้ยากมาก ]

พรบ.ฯ ฉบับนี้กำหนดให้ต้องจัดทำบันทึกการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลและหลักฐานการกระทำความผิดไ้ด้ในภายหลัง

การหลอกเอาข้อมูลทางการเงินของผู้อื่น Phishing
Phishing ฟิชชิ่ง คือการปลอม หรือหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือข้อความอื่นๆ
ตัวอย่างของการฟิชชิ่ง คือ การบอกแก่ผู้รับว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทบางแห่ง แล้วแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบ>> see more detail
Spam Mail อาชญากรรม ที่มีโทษถึงติดคุก และยึดทรัพย์
เป็นอีกรูปแบบการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังกระทำความผิด
สแปม เมล์ คือการส่งจดหมาย E-mail เป็นจำนวนมาก โดยปกปิดที่มา หรือไม่ปรากฏชื่อที่อยู่ของผู้ส่งที่แท้จริง ไปยังผู้รับ ที่ไม่ได้มีการร้องขอ และไม่ไ้ด้รับความยินยอม  >> see more detail
Spamer ทั้งหลายระวังตัวให้ดี มีสิทธิ์กินฟรีอยู่ฟรีในเรือนจำ หลายคนอาจะไม่รู้ว่า การส่งต่อจดหมาย หรือที่เรียกว่า ฟอเวิร์ดเมล์ ภาพลามก อนาจาร หรือข้อมูลอันเป็นเท็จไปให้ผู้อื่น ถือเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นคดีอาญา ที่มีโทษถึงจำคุกเลยนะครับ.  >> see more detail
ส่งต่อภาพลามก ส่งต่อฟอร์เวิร์ดเมล์ มีโทษตามกฏหมาย
กวันนี้การติดต่อสื่อสารผ่านจดหมายอีเล็คทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ เป็นที่แพร่หลายในทุกกลุ่มคน เพราะความสะดวก และรวดเร็วแบบส่งเดี๋ยวนี้ได้รับเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้มีการก่ออาชญากรรม ทางคอมพิวเตอร์กันอยู่แทบทุกวัน โดยที่บางคนอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้    >> see more detail

Followers

Thai Cybercrime © 2008 Template by Dicas Blogger.

TOPO